วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

การสำรวจวิถีชีวิตของคนในชุมชนยางพัฒนา



จัดทำโดย

ด.ช.ศุภกฤต            โคตรคำ      ชั้น ม.3/6   เลขที่  16 
ด.ญ.จันทราภรณ์     สมสวย       ชั้น ม.3/6   เลขที่  26
ด.ญ.อารียา             แผนมะหิง   ชั้น ม.3/6  เลขที่  52

พิธีกร
   ด.ช.ศุภกฤต           โคตรคำ
   ด.ญ.อารียา            แผนมะหิง

ถ่ายภาพ
   ด.ญ.จันทราภรณ์    สมสวย 

สถานที่
  ชุมชนยางพัฒนา

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ผังงานตู้เติมเงินโทรศัพท์



ด.ช.ศุภกฤต   โคตรคำ      ชั้น ม.3/6       เลขที่ 16      

กิจกรรมที่ 4


4.1โปรแกรมคำนวณหาพื้นที่สี่เหลี่ยมพื้นผ้า

<html>
 <head>
 <script language="javascript">
 <!--
 var a;
 a = prompt("กรุณากรอกชื่อ-สกุล")
  alert("สวัสดี"+a);
 </script>
 </head>
</html>


4.2 โปรมแกรมกรอกชื่อ

<html>
 <head>
 <script language="javascript">
 <!--
 var a;
 a = prompt("ความกว้าง")
 var b;
 b = prompt("ความยาว")
  alert("พื้นที่สี่เหลี่ยม"+a*b);
 </script>
 </head>
</html>

ด.ช.ศุภกฤต   โคตรคำ       ชั้น ม.3/6       เลขที่ 16

Documents


ด.ช.ศุภกฤต   โคตรคำ   ชั้น ม.3/6   เลขที่่ 16 

วันศุกร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2555

วันอังคารที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2555

แม่คือ ?


คือ “ ผู้ให้ ” ไม่หวังสิ่งตอบแทน      คือ “ ผู้สร้าง ” แบบแผนแจ้งประจักษ์
คือ “ ผู้มอบ ” ความรู้คู่ความรัก         คือ “ แม่ ” ผู้เหนื่อยหนักตลอดมา

กิจกรรมที่ทำกับแม่
          ทำบุญตักบาตรตอนเช้า 
การทำบุญตักบาตร เป็นการทำบุญที่ชาวพุทธทั่วไปรู้จักและปฏิบัติมากกว่าการทำบุญประเภทอื่น ๆ การตักบาตรนั้น ยังถือว่าเป็นการทำบุญประจำวันของชาวพุทธ และชาวพุทธไทยเชื่อว่า การออกบิณฑบาตของพระสงฆ์เป็นการช่วยโปรดสัตว์ที่อยู่ในอบายภูมิ เช่น เปรตวิสัย ให้ได้รับส่วนบุญ ด้วยเหตุผลทางจิรยธรรม ในการทำบุญตักบาตรนั้น พอสรุปได้ดังนี้

          ๑.เป็นการสั่งสมบุญในแต่ละวัน เพราะการสั่งสมเป็นเหตุนำความสุขมาให้

          ๒.เป็นการเริ่มต้นวันใหม่ด้วยการทำบุญทำให้จิตใจแจ่มใส เพื่อให้มีกำลังใจที่เข้มแข็ง เพราะผู้ที่ไม่มีบุญ 
เกื้อหนุนอยู่ในใจ ย่อมพ่ายแพ้ต่อบาปได้ง่าย 
          ๓.เป็นการทำที่พึ่งคือบุญให้แก่ตนเองในอนาคต
          ๔.เป็นการช่วยรักษาพุทธประเพณี เพราะพระพุทธเจ้าทั้งหลายในอดีต และที่จะมาตรัสรู้ในอนาคต ด้วนแต่ดำรงพระชนม์ชีพด้วยอาหารบิณฑบาต 
          ๕.เป็นการช่วยสืบทอดพระพุทธศาสนา เพราะพระสงฆ์เป็นผู้ศึกษา ปฏิบัติพระธรรมวินัย แล้วนำมาสั่งสอนให้ประชาชน ได้รับรสแห่งพระธรรมด้วย อีกทั้งยังดำรงตนเป็นตัวอย่างด้านความประพฤติ ิดีงามของสังคม ฉะนั้น ชาวพุทธควรทำบุญตักบาตรเป็นประจำทุกวัน เพื่อเป็นการสั่งสมบุญให้แก่ตนเองที่จะต้องนำไป ดุจเสบียงเดินทาง ในการท่องเที่ยวเวียนเกิดและเวียนตายอยู่ในวัฏฏสงสาร อันไม่ปรากฏ
เบื้องต้นและที่สุด และบุญที่สั่งสมไว้นี้ จะช่วยเกื้อกูลให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้
          อนึ่ง ประโยชน์ส่วนรวมที่จะเกิดขึ้น คือ เป็นการสืบทอดอายุพระพุทธศาสนา เพระพระสงฆ์ซึ่งเป็นผู้นำของพุทธบริษัท ที่เป็นฐานกำลังสำคัญแห่งกองทัพธรรมนั้น ท่านดำรงชีพอยู่ได้ด้วยปัจจัยที่คฤหัสถ์จัดถวาย ท่านจึงสามารถมีกำลังกาย กำลังใจที่จะศึกษาพระพุทธพจน์ คือ พระไตรปิฎก ให้เข้าใจ ทรงจำ นำมาประพฤติปฏิบัติ และกล่าวสอนมวลมนุษย์ได้


มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก
กรุ่นกลิ่น "รัก" บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ
เป็นมาลัย "กราบแม่" พร้อมน้อมบูชา

มะลิหอมน้อมวางข้างข้างตัก  กรุ่นกลิ่น รัก บริสุทธิ์ผุดผ่องใส
แทนทุกคำทุกถ้อยร้อยจากใจ  เป็นมาลัย กราบแม่ พร้อมน้อมบูชา

          แม้ชีวิตจะเกี่ยวข้องกับพจนานุกรมอยู่เสมอ  แต่มีคำอยู่คำหนึ่งที่ฉันไม่เคยคิดจะเปิดหาความหมายเลย  แม้แต่ครั้งเดียว  ด้วยรู้ดีว่าไม่มีพจนานุกรมเล่มใดที่จะอธิบายความหมายของคำคำนี้ได้อย่างครบถ้วน  และสมบูรณ์อย่างแท้จริง  “ แม่ ” คำที่มีลักษณะห้วนสั้น  แต่พร้อมพรั่งไปด้วยความหมายอันยิ่งใหญ่อย่างหาที่เปรียบมิได้  เพราะแม่คือ “ ผู้ให้ ” ผู้อุทิศกายใจเพื่อลูกทุกเสี้ยววินาที  และแม่คือ “ ผู้สร้าง ” ผู้หล่อหลอมความดีความงามทั้งมวลแก่เผ่าพันธุ์มนุษยชาติ
          ความรักของแม่ คือ รักแท้อันบริสุทธิ์  สายใยแห่งความรักระหว่างแม่กับลูกเริ่มก่อเกิดนับตั้งแต่วินาทีแรกที่แม่รับรู้ว่า  ยังมีอีกชีวิตหนึ่งถือกำเนิดอยู่ในครรภ์  “ แม่คือผู้ให้ชีวิต ”  ให้ดวงตาสองข้างอันเปรียบดังบานประตูสู่โลกกว้าง ให้สองหูอันเป็นบันไดไปสู่การเรียนรู้  ให้สองมือ สองเท้าเพื่อดำเนินชีวิตบนโลกแห่งประสบการณ์  เหนือสิ่งอื่นใด แม่ได้ให้ความรัก อันเป็นจุดเริ่มต้นแห่งความรักทั้งมวลบนโลกใบนี้
          ใครกันหนออุปมาว่าแม่เปรียบเสมือนดอกมะลิ  สีขาวของกลีบดอกนั้นคงเป็นเครื่องสะท้อนถึงรักแท้จากดวงใจบริสุทธิ์  รักนั้นช่างมั่นคงไม่เปลี่ยนแปลงดังกลิ่นหอมอ่อนๆที่กรุ่นกำจายอยู่มิรู้หาย  หากมีใครสักคนตีค่าความรักเป็นราคา  ความรักของแม่คงเป็นความรักที่ราคาแพงอย่างประเมินค่ามิได้  ด้วยเนื้อแท้แห่งรักบริสุทธิ์ที่เปล่งประกายอวดโฉมอยู่ตลอดเวลาช่างงดงามนัก  แม้เพชรพลอยเลอค่าก็มิอาจเทียบได้
          เก้าเดือนที่แม่โอบอุ้มลูกน้อยเอาไว้ในครรภ์  คือเก้าเดือนแห่งความรัก เก้าเดือนแห่งความผูกพัน เก้าเดือนแห่งความห่วงใย  และเก้าเดือนแห่งการรอคอย แม่ต้องเจ็บปวดทรมานอย่างแสนสาหัสในวันที่ลูกใกล้คลอด  ดังบทกวีอมตะของท่านพุทธทาสภิกขุที่ลิขิตเอาไว้ว่า

วันเกิดลูกเกือบคล้ายวันตายแม่         เจ็บท้องแท้เท่าไรก็ไม่บ่น
กว่าจะอุ้มท้องกว่าคลอดรอดเป็นคน      เติบโตจนป่านนี้นี่เพราะใคร

       ถึงแม่ต้องเจ็บปวดสักเพียงใดก็ตาม  แต่วินาทีแรกที่ได้เห็นดวงตาอันสุกใสของลูกน้อยความเจ็บปวดทั้งมวลก็อันตรธานไปจนแทบหมดสิ้น  ทิ้งไว้เพียงรอยยิ้มและความปลื้มปิติของผู้ให้กำเนิด  เมื่อได้รับน้ำนมหยดแรกจากแม่  ลูกจึงรับรู้ได้ถึงความรักความผูกพันอันยิ่งใหญ่ หยดน้ำนม หยาดน้ำแห่งชีวิต  ที่ช่วยเสริมสร้างความมั่นคงทางจิตใจสำหรับช่วงเวลาของการเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ดีอีกชีวิตหนึ่ง 

“ อื่อจาๆ หลับสองต๋า ถ้าแม่มาค่อยตื่น ถ้าหลับบ่จื้น  ก็ค่อยหลับแหม ”

          แม้จะล่วงเลยวัยเด็กมานานถึงยี่สิบกว่าปีแล้ว  ฉันก็ยังจำเสียงเห่กล่อมของแม่และสัมผัสเปี่ยมรักของท่านได้เสมอ  เสียงของแม่มิได้ไพเราะเพราะพริ้งราวกับระฆังทองหรือนักร้องมืออาชีพ กลับเป็นน้ำเสียงของผู้หญิงธรรมดาๆแต่อบอุ่นและปลอดภัย  เมื่อได้ยินเสียงขึ้นมาคราใดก็รับรู้ได้ทันทีว่าจะไม่มีเคราะห์ภัยใดมากล้ำกลายได้ เพราะแม่เสียสละเพื่อลูกได้แม้กระทั่ง “ ชีวิต”
          เมื่อถึงวัยที่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียนอนุบาล  ฉันเป็นเด็กที่ร้องไห้ยาวนานที่สุด จนเป็นที่เอือมระอาของคุณครู  เนื่องจากฉันเป็นเด็กที่ติดแม่มากจึงมีความรู้สึกว่าไม่มีอ้อมกอดใดจะปลอดภัยเท่ากับอยู่ภายในอ้อมแขนของท่าน “ อ้อมกอดแม่คือต้นกำเนิดแห่งกำลังใจ ” เมื่อเจริญวัยขึ้น  วันใดที่ชีวิตประสบปัญหา  อ้อมกอดของแม่จึงเป็นทางเลือกเดียวที่จะจุดพลังในใจดวงนี้ให้ลุกโชติช่วง ฉันเคยถามตนเองอยู่เสมอว่า ทุกๆครั้งที่พานักเรียนไปอบรมธรรมะ  เมื่อพระอาจารย์วิทยากรสั่งสอนเกี่ยวกับความกตัญญูกตเวที  เหตุใดฉันจึงน้ำตาซึมอยู่เสมอ    เมื่อท่านเอ่ยถึง “ สตรีผู้หนึ่งที่อดทนเพื่อลูกเสมอ  พร้อมที่จะยื่นมือเข้าไปโอบกอด  เช็ดน้ำตา และอภัย ทุกคราวที่ลูกพลาดพลั้งหลงทางผิด” เมื่อเวลาผ่านไปจึงได้คำตอบว่า   แท้จริงแล้วถ้อยคำเหล่านี้ทำให้รู้สึกสะเทือนใจ และกลับกลายเป็นน้ำทิพย์ชโลมใจให้ฉันลุกขึ้นมาต่อสู้กับอุปสรรคที่ดาหน้าเข้ามาอย่างไม่หวั่นเกรง 
          วัยเด็กเป็นวัยที่ต้องการแบบอย่าง  แม่จึงเป็นครูแห่งชีวิตเป็นแบบพิมพ์ชั้นดีให้แก่ลูกโดยไม่รู้ตัว คำสั่งสอนของแม่นั้นจะช่วยเติมเต็มความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ที่สุด  คำสอนของแม่ปลูกฝังจิตสำนึกและจิตวิญญาณ  ท่านจึงเป็นรากฐานสำคัญที่ช่วยสร้างสังคมให้เข้มแข็ง ฉันเป็นผู้หนึ่งที่ได้นำคำสอนของแม่มาประพฤติปฏิบัติ  เพราะรู้ดีว่า..แม่จะให้สิ่งที่ดีที่สุดแก่ลูกอยู่เสมอไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่าฉันมีวันนี้เพราะแม่  แม่คือเบื้องหลังของทุกความสำเร็จ 
            หยาดเหงื่อทุกหยดของแม่เป็นกาวชั้นดีในการสร้างครอบครัวให้เป็นปึกแผ่น แม่ของฉันไม่ใช่สตรีที่ร่ำรวยความรู้หรือเงินทอง  แม่เป็นเพียงผู้หญิงคนหนึ่งที่ทำทุกอย่างเพื่อลูกได้  เหงื่อแต่ละหยดของแม่แลกเปลี่ยนเป็นเงินทองเพื่อให้ลูกได้ร่ำเรียนสูงๆ  ฉันจึงกอดแม่ได้เสมอแม้ในยามที่เหงื่อแม่โซมกาย  หรือยามที่มือหยาบกร้านของแม่แปดเปื้อนด้วยดินโคลน
          จากนี้จนสิ้นใจ...ฉันก็คงไม่สามารถตอบแทนพระคุณแม่ได้หมดพระคุณอันล้นฟ้านี้  ความสามารถทางการเขียนอันน้อยนิดของฉันคงไม่มีวันที่จะพรรณนาได้  แต่ฉันรู้ดีว่ามีภาระยิ่งใหญ่ที่ต้องกระทำ  คือ การทำให้บั้นปลายของท่านมีความสุขที่สุด  นั่นคือการเป็นลูกที่ดีและเป็นสมาชิกที่ดีของสังคม  ให้สมกับที่“ สองมือแม่ได้ปั้นแต่งความเป็นคน ” เอาไว้แต่หนหลัง



ที่มา  หนังสือเรียงความเทิดพระคุณแม่  ในโอกาสวันแม่ปี ๒๕๕๑


ด.ช.ศุภกฤต   โคตรคำ      ชั้น ม.3/6     เลขที่ 16 

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา 

 วันมาฆบูชา     

วันมาฆบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า"วันจาตุรงคสันนิบาต" เพราะเป็นวันที่พระพุทธองค์ทรงประทานหลักโอวาทปาฏิโมกข์ อันเป็นหัวใจของพระธรรม แก่พระอรหันตสาวกผู้เป็นเอหิภิกขุทั้ง 1,250 องค์ ที่มาประชุมพร้อมกันเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าโดยมิได้นัดหมายในวันมาฆปุรณมี
   
   วันมาฆบูชาเป็นวันที่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงประทานพระโอวาทสำคัญอันถือได้ว่าเป็นหัวใจของคำสอนในพระพุทธศาสนา คือ โอวาทปาฏิโมกข์ ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือนสาม ดวงจันทร์โคจรมาเสวยมาฆฤกษ์ แต่ถ้าปีใดมี อธิกมาส คือ เดือนแปดสองแปด วันมาฆบูชาก็จะเลื่อนไปเป็นวันเพ็ญกลางเดือนสี่ เหตุการณ์ดังกล่าวนี้เกิดขึ้นที่ พระเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ รัฐมคธ ในปีแรกของการตรัสรู้ของพระพุทธองค์ คือ หลังจากตรัสรู้แล้วได้ ๙ เดือน    ความประจวบกันพอดีของเหตุการณ์ในวันนี้ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่อัศจรรย์ มีสี่ประการคือ
        ประการแรก  เป็นการมาชุมนุมกันของพระสงฆ์สาวก จำนวน ๑,๒๕๐ รูป เพื่อเฝ้าพระบรมศาสดา โดยมิได้นัดหมาย
        ประการที่สอง  พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่เป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น
        ประการที่สาม  พระสงฆ์สาวกดังกล่าวล้วนแต่ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าด้วยวิธี เอหิภิกขุอุปสัมปทา
        ประการที่สี่   วันนั้นดวงจันทร์เพ็ญเสวยมาฆฤกษ์เต็มบริบูรณ์
        ความพร้อมกันขององค์สี่ประการจึงเรียกว่า จาตุรงคสันนิบาต


วันวิสาขบูชา

วิสาขบูชา หรือ วันเพ็ญเดือน 6 นับเป็นวันที่สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนาเพราะเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญของพระพุทธศาสนามากถึง 3 เหตุการณ์ คือ เป็นวันคล้ายวันประสูติ, ตรัสรู้ และปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังนั้นจึงมีคำเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระพุทธเจ้า"


     ความหมาย คำว่า "วิสาขบูชา" หมายถึงการบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖   วิสาขบูชา ย่อมาจาก " วิสาขปุรณมีบูชา " แปลว่า " การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะถ้าปีใดมีอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปเป็นกลางเดือน ๗
     ความสำคัญ วันวิสาขบูชา เป็นวันสำคัญยิ่งทางพระพุทธศาสนา เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าประสูติ คือเกิด  ได้ตรัสรู้ คือสำเร็จ  ได้ปรินิพพาน คือดับขันธ์ เกิดขึ้นตรงกันทั้ง ๓ คราว คือ    
  ๑. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติที่พระราชอุทยานลุมพินีวัน ระหว่างกรุงกบิลพัสดุ์กับเทวทหะ เมื่อเช้าวันศุกร์ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีจอ ก่อนพุทธศักรา๘๐ ปี

     ๒. เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะ ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้าเมื่อพระชนมายุ ๓๕ พรรษา ณ ใต้ร่มไม้ศรีมหาโพธิ์ ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ในตอนเช้ามืดวันพุธ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีระกา ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี หลัจากออกผนวชได้ ๖ ปี ปัจจุบันสถานที่ตรัสรู้แห่งนี้เรียกว่า พุทธคยา เป็นตำบลหนึ่งของเมืองคยา แห่งรัฐพิหารของอินเดีย


   ๓. หลังจากตรัสรู้แล้ว ได้ประกาศพระศาสนา และโปรดเวไนยสัตว์ ๔๕ ปี พระชนมายุได้ ๘๐ พรรษา ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมื่อวันอังคาร ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง ณ สาลวโนทยาน ของมัลลกษัตริย์ เมืองกุสินารา แคว้นมัลละ (ปัจจุบันอยู่ในเมือง กุสีนคระ) แคว้นอุตตรประเทศ ประเทศอินเดีย
                นับว่าเป็นเรื่องที่น่าอัศจรรย์ยิ่ง ที่เหตุการณ์ทั้ง ๓ เกี่ยวกับวิถีชีวิตของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งมีช่วงระยะเวลาห่างกันนับเวลาหลายสิบปี บังเอิญเกิดขึ้นในวันเพ็ญเดือน ๖  ดังนั้นเมื่อถึงวันสำคัญ เช่นนี้ ชาวพุทธทั้งคฤหัสถ์ และบรรพชิตได้พร้อมใจกันประกอบพิธีบูชาพระพุทธองค์เป็นการพิเศษ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ พระปัญญาธิคุณ และพระบริสุทธิคุณ ของพระองค์ท่าน ผู้เป็นดวงประทีปของโลก


  อาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "วันพระธรรม" และ "วันพระสงฆ์"เพราะเป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนาประกาศพระธรรมจักรเป็นครั้งแรกแก่ปัญจวัคคีย์ และเป็นวันที่บังเกิดมีพระสงฆ์ครบเป็นองค์พระรัตนตรัยครั้งแรกในโลก                 

วันอาสาฬหบูชา  เป็นวันที่สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าได้แสดง พระปฐมเทศนา หรือการแสดงพระธรรมครั้งแรก หลังจากที่ตรัสรู้ได้ ๒ เดือน เป็นวันที่เริ่มประดิษฐานพระพุทธศาสนาเนื่องจากมีองค์ประกอบของ  พระรัตนตรัยครบถ้วนคือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปี ในวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๘ ดวงจันทร์ เสวยมาฆฤกษ์
            การแสดงพระปฐมเทศนา ได้ทรงแสดงแก่ปัญจวัคคีย์  ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันคือสารนาถ เมืองพาราณสี พระธรรมที่แสดงคือ ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร เมื่อเทศนาจบ พระโกณฑัญญะ หนึ่งในปัญจวัคคีย์ ผู้ประกอบด้วย พระโกณฑัญญะ พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานาม และพระอัสสชิ  ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
            วันอาสาฬหบูชามีเหตุการณ์สำคัญในทางพระพุทธศาสนาอยู่ ๓ ประการคือ
            ๑.  เป็นวันแรกที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศพระศาสนา โดยทางแสดงพระปฐมเทศนา คือ ธรรมจักกัปปวัตนสูตร   ประกาศสัจธรรมอันเป็นองค์แห่งพระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณที่พระองค์ตรัสรู้ ให้เป็นที่ประจักษ์แก่ สรรพสัตว์ทั้งหลาย
            ๒. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระอริยสงฆ์สาวกขึ้นในโลก คือ พระโกณฑัญญะ เมื่อได้ฟังพระปฐมเทศนาจบ ได้ดวงตาเห็นธรรม ได้ทูลขออุปสมบท และพระพุทธเจ้าได้ประทานอุปสมบทให้ด้วยวิธีเอหิภิกษุอุปสัมปทา ในวันนั้น
            ๓. เป็นวันแรกที่บังเกิดพระรัตนตรัย คือ พระพุทธรัตนะ พระธรรมรัตน และพระสังฆรัตนะ ขึ้นในโลกอย่างสมบูรณ์บริบูรณ์


 วันอัฏฐมีบูชา

เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาอีกวันหนึ่ง คือ เป็นวันถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระของพระพุทธเจ้า หลังจากเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานได้ ๘ วัน คือหลังจากวันวิสาขบูชาแล้ว ๘วัน เป็นที่น่าเสียดายว่า วันอัฏฐมีบูชานี้ ในเมืองไทยเรามักลืมเลือนกันไปแล้ว จะมีเพียงบางวัดเท่านั้น ที่จัดให้มีการประกอบกุศลพิธีในวันนี้


ประวัติ
         เมื่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้เสด็จปรินิพพานไปแล้ว 7 วัน มัลละกษัตริย์แห่งเมืองกุสินารา พร้อมด้วยประชาชน และพระสงฆ์อันมีพระมหากัสสปเถระเป็นประธาน ได้พร้อมกันกระทำการถวายพระเพลิงพุทธสรีระ ณมกุฏพันธนเจดีย์ แห่งเมืองกุสินารา เป็นวันหนึ่งที่ชาวพุทธต้องมีความโศกเศร้าเสียใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะการสูญเสียแห่งพระพุทธสรีระ เมื่อวันแรม 8 ค่ำ เดือน 6 ซึ่งนิยมเรียกกันว่าวันอัฏฐมีนั้น เมื่อเวียนมาบรรจบแต่ละปี พุทธศาสนิกชนได้พร้อมกันประกอบพิธีบูชาขึ้น เป็นการเฉพาะ เช่นที่ปฏิบัติกันอยู่ในวัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ เป็นต้น แต่จะปฏิบัติกันมาแต่เมื่อใด ไม่พบหลักฐาน ปัจจุบันนี้ก็ยังถือปฏิบัติกันอยู่
ประวัติพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพในพุทธประวัติ
         พิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพมีขึ้นในวันที่ 8 หลังจากพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานใต้ต้นสาละในราตรี 15 ค่ำ เดือน 6 โดยพวกเจ้ามัลลกษัตริย์จัดบูชาด้วยของหอม ดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิด ที่มีอยู่ใน เมืองกุสินาราตลอด 7 วัน แล้วให้เจ้ามัลละระดับหัวหน้า 8 คน สรงเกล้า นุ่งห่มผ้าใหม่ อัญเชิญพระสรีระไปทางทิศตะวันออก ของพระนคร เพื่อถวาย พระเพลิง
             พวกเจ้ามัลละถามถึงวิธีปฏิบัติพระสรีระกับพระอานนท์เถระ แล้วทำตามคำของพระเถระนั้นคือ ห่อพระสรีระด้วยผ้าใหม่แล้วซับด้วยสำลี แล้วใช้ผ้าใหม่ห่อทับอีก ทำเช่นนี้จนหมดผ้า 500 คู่ แล้วเชิญลงในรางเหล็กที่เติมด้วยน้ำมัน แล้วทำจิตกาธานด้วยดอกไม้จันทน์ และของหอมทุกชนิด จากนั้นอัญเชิญ พวกเจ้ามัลละระดับหัวหน้า 4 คน สระสรงเกล้า และนุ่งห่มผ้าใหม่ พยายามจุดไฟที่เชิงตะกอน แต่ก็ไม่อาจให้ไฟติดได้ จึงสอบถามสาเหตุ พระอนุรุทธะ พระเถระ แจ้งว่า "เพราะเทวดามีความประสงค์ให้รอพระมหากัสสปะ และภิกษุหมู่ใหญ่ 500 รูป ผู้กำลังเดินทางมาเพื่อถวายบังคมพระบาทเสียก่อน ไฟก็จะลุกไหม้" ก็เทวดา เหล่านั้น เคยเป็นโยมอุปัฏฐากของพระเถระ และพระสาวกผู้ใหญ่มาก่อน จึงไม่ยินดีที่ไม่เห็นพระมหากัสสปะอยู่ในพิธี และเมื่อภิกษุหมู่ 500 รูปโดยมีพระมหากัสสปะเป็นประธานเดินทางมาพร้อมกัน ณ ที่ถวายพระเพลิงแล้ว ไฟจึงลุกโชนขึ้นเองโดยไม่ต้องมีใครจุด

               หลังจากที่พระเพลิงเผาซึ่งเผาไหม้พระพุทธสรีระดับมอดลงแล้ว บรรดากษัตริย์มัลละทั้งหลายจึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุทั้งหมด ใส่ลงในหีบทองแล้วนำไปรักษาไว้ภายในนครกุสินารา ส่วนเครื่องบริขารต่างๆ ของพระพุทธเจ้าได้มีการอัญเชิญไปประดิษฐานตามที่ต่างๆ อาทิ ผ้าไตรจีวร อัญเชิญไปประดิษฐานที่แคว้นคันธาระ บาตรอัญเชิญไปประดิษฐานที่เมืองปาตลีบุตร เป็นต้น และเมื่อบรรดากษัตริย์จากแคว้นต่างๆ ได้ทราบว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธปรินิพพานที่นครกุสินารา จึงได้ส่งตัวแทนไปขอแบ่งพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อนำกลับมาสักการะยังแคว้นของตนแต่ก็ถูกกษัตริย์มัลละปฏิเสธ จึงทำให้ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งและเตรียมทำสงครามกัน แต่ในสุดเหตุการณ์ก็มิได้บานปลาย เนื่องจากโทณพราหมณ์ได้เข้ามาเป็นตัวกลางเจรจาไกล่เกลี่ย เพื่อยุติความขัดแย้งโดยเสนอให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 8 ส่วนเท่าๆ กัน ซึ่งกษัตริย์แต่ละเมืองทรงสร้างเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ตามเมืองต่างๆ ดังนี้
กษัตริย์ลิจฉวี ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวสาลี
กษัตริย์ศากยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกบิลพัสดุ์
กษัตริย์ถูลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองอัลลกัปปะ
กษัตริย์โกลิยะ ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองรามคาม
มหาพราหมณ์ สร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองเวฏฐทีปกะ
กษัตริย์มัลละแห่งเมืองปาวา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองปาวา
พระเจ้าอชาตศัตรู ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองราชคฤห์
มัลลกษัตริย์แห่งกุสินารา ทรงสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่เมืองกุสินารา
กษัตริย์เมืองโมริยะ ทรงสร้างสถูปบรรจุพระอังคาร (อังคารสถูป) ที่เมืองปิปผลิวัน
โทณพราหมณ์ สร้างสถูปบรรจุทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุ ที่เมืองกุสินารา (ทะนานตวงพระบรมสารีริกธาตุแจก, คำว่า ตุมพะ แปลว่า ทะนาน, บางทีเรียกสถูปนี้ว่า ตุมพสถูป)
สำหรับกรณีของกษัตริย์เมืองโมริยะนั้น ได้ส่งผู้แทนมาหลังจากที่โทณพราหมณ์แบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้ทั้ง 8 เมืองไปแล้วจึงได้อัญเชิญพระอังคารไปแทน ส่วนโทณพราหมณ์ ก็ได้สร้างสถูปบรรจุทะนานที่ใช้สำหรับตวงพระบรมสารีริกธาตุสำหรับตนเอง และผู้คนได้สักการะดังที่ได้กล่าวไป


เข้าพรรษา

วันเข้าพรรษา
วันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่ง ที่พระสงฆ์อธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดช่วงฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น 


ความสำคัญ
ความสำคัญและประโยชน์ของการเข้าพรรษา
ช่วงเข้าพรรษานั้นเป็นช่วงเวลาที่ชาวบ้านประกอบอาชีพทำไร่นา ดังนั้นการกำหนดให้ภิกษุสงฆ์หยุดการเดินทางจาริกไปในสถานที่ต่างๆ ก็จะช่วยให้พันธุ์พืชของต้นกล้า หรือสัตว์เล็กสัตว์น้อย ไม่ได้รับความเสียหายจากการเดินธุดงค์
หลังจากเดินทางจาริกไปเผยแผ่พระพุทธศาสนามาเป็นเวลา 8 - 9 เดือน ช่วงเข้าพรรษาเป็นช่วงที่ให้พระภิกษุสงฆ์ได้หยุดพักผ่อน
เป็นเวลาที่พระภิกษุสงฆ์จะได้ประพฤติปฏิบัติธรรมสำหรับตนเอง และศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยตลอดจนเตรียมการสั่งสอนให้กับประชาชนเมื่อถึง วันออกพรรษา
เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
เพื่อจะได้มีโอกาสอบรมสั่งสอนและบวชให้กับกุลบุตรผู้มีอายุครบบวช อันเป็นกำลังสำคัญในการเผยแผ่พระพุทธศาสนาต่อไป
เพื่อให้พุทธศาสนิกชน ได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศีล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอบายมุข และมีโอกาสได้ฟังพระธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษา
กิจกรรมต่างๆ ที่ควรปฏิบัติในวันเข้าพรรษา

   ๑. ร่วมกิจกรรมทำเทียนจำนำพรรษา 
   ๒. ร่วมกิจกรรมถวายผ้าอาบน้ำฝน และจตุปัจจัย แก่ภิษุสามเณร 
   ๓. ร่วมทำบุญ ตักบาตร ฟังธรรมเทศนา รักษาอุโบสถศีล 
   ๔. อธิษฐาน งดเว้นอบายมุขต่างๆ


ออกพรรษา

เมื่อออกพรรษาแล้วพระสงฆ์ผู้อยู่จำครบพรรษาจะได้รับอานิสงส์พรรษาหลายอย่าง และพระสงฆ์บางส่วนจะถือโอกาสในช่วงออกพรรษา 9 เดือนออกจาริกเพื่อปฏิบัติธรรม และโปรดพุทธศาสนิกชนตามสถานที่ต่าง ๆ ก่อนจะกลับเข้าจำพรรษาอีกครั้งในปีถัดไป

        วันออกพรรษา  ตรงกับวันเพ็ญ (ขึ้น ๑๕ ค่ำ) เดือน ๑๑ เป็นวันที่พระภิกษุสงฆ์ออกจากจำพรรษา หรือการอยู่ประจำที่ตลอดฤดูฝน เป็นระยะเวลา ๓ เดือน ต่อจากวันนี้ไปพระภิกษุสงฆ์ก็สามารถจาริกไปในที่ต่าง ๆ และค้างแรมในที่อื่นได้
        วันออกพรรษานี้มีการทำปวารณาในหมู่พระภิกษุสงฆ คือให้พระภิกษุสงฆ์ทำปวารณาแทนการทำอุโบสถ์สังฆกรรม ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือนซึ่งกันและกัน ต่างรูปต่างกล่าวคำปวารณาตามลำดับอาวุโส มีใจความว่า
สงฺฆมฺภนฺเต  ปวาเรมิ  ทิฏฺเฐน  วา  สุเตน  วา  ปริสงฺกาย  วา  วทนฺตุ  มํ  อายสฺมนฺโต  อนุกมฺปํ  อุปาทาย  ปสฺสนฺโต  ปฏิกฺกริสฺ สามิ ฯ
        ข้าพเจ้าขอปวารณาต่อพระสงฆ์ด้วยได้ยินก็ดี ได้ฟังก็ดี สงสัยก็ดี ขอท่านทั้งหลายจงอาศัยความกรุณาว่ากล่าว ข้าพเจ้า
เมื่อข้าพเจ้าสำนึกได้จักทำคืนเสีย แล้วจักสำรวมระวังต่อไป
(กล่าว ๓ ครั้ง)
        ในวันออกพรรษาตามประวัติหรือตำนานกล่าวว่า เป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หลังจากที่ได้เสด็จไปจำพรรษาและแสดงพระธรรมเทศนาโปรดพระพุทธมารดาการเสด็จลงจากดาวดึงส์ครั้งนั้น ได้เสด็จลงมา ณ เมืองสังกัสสะ  บรรดาพุทธศาสนิกชนจึงพากันไปตักบาตรแด่พระพุทธเจ้า เรียกว่า ตักบาตรเทโว คำเต็มคือ ตักบาตรเทโวโรหนะ  คำว่าเทโวโรหนะ แปลว่า การหยั่งลงจากเทวโลก


วันพระ

พุทธศาสนิกชนนิยมไปทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ ที่วัดในวันพระ  

        นอกจากวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาดังกล่าวแล้ว  ยังมีวันธรรมสวนะ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วันพระ”  โดยนับ
วันขึ้น ๘ ค่ำ
แรม ๘ ค่ำ
วันขึ้น ๑๕ ค่ำ (วันเพ็ญ)
แรม ๑๕ ค่ำ (หากเดือนใดเป็นเดือนขาด ถือเอาวันแรม ๑๔ ค่ำ)
ของทุกเดือน เป็นวันที่ชาวพุทธมาบำเพ็ญกุศลให้กับตนเอง  วันธรรมสวนะนี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล ซึ่งถือเป็นวันบำเพ็ญกุศลของชาวพุทธทั่วไป
        ในวันพระ พุทธศาสนิกชนถือเป็นวันสำคัญ ที่ควรไปวัดเพื่อทำบุญ ถวายภัตตาหารแด่พระสงฆ์ และฟังธรรม หรือถือศีล สำหรับผู้ที่เคร่งครัดในศาสนาอาจถือศีลแปดในวันพระด้วย นอกจากนี้ชาวพุทธยังถือว่าวันพระไม่ควรทำบาปใดๆ
        วันโกน เป็นภาษาพูด หมายถึง วันก่อนวันพระ ๑ วัน
ประวัติ
        ในสมัยพุทธกาล พระเจ้าพิมพิสารได้เข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และกราบทูลว่านักบวชศาสนาอื่น มีวันประชุมสนทนาเกี่ยวกับหลักธรรมคำสั่งสอนในศาสนาของเขา แต่ว่าศาสนาพุทธยังไม่มี พระพุทธองค์จึงทรงอนุญาติให้ภิกษุสงฆ์ประชุมสนทนาและแสดงธรรมเทศนาแก่ประชาชน ในวัน ๘ ค่ำ ๑๔ ค่ำ และ ๑๕ ค่ำ ดังกล่าว
        พุทธศาสนิกชนจึงถือเอาวันดังกล่าวเป็น วันธรรมสวนะ


อ้างอิง
          รายชื่อ วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา [ ออนไลน์ ].  เข้าถึงได้จาก  http://th.wikipedia.org/wiki/วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
     ( วันที่สืบค้นข้อมูล : 30  กรกฏาคม 2555 ).

ด.ช.ศุภกฤต   โคตรคำ       ชั้น ม.3/6      เลขที่ 16